ใช้เวลายามค่ำคืนในบ้านที่สร้างขึ้นในสมัยเมจิที่เมืองไทกิ

ใช้เวลายามค่ำคืนในบ้านที่สร้างขึ้นในสมัยเมจิที่เมืองไทกิ

ไทกิเป็นเมืองชนบทที่สวยงามพร้อมภูมิทัศน์อันงดงามเป็นบ้านของผู้คนที่ใจดีและน่ารัก ที่นี่คุณจะไม่พบร้านอาหารหรูหราหรือโรงแรมชื่อดัง
แต่คุณได้เรียนรู้ว่าคุณไม่จำเป็นต้องมีสิ่งต่างๆ มากมายเพื่อใช้ชีวิตที่เรียบง่ายและมีความสุข

ฉันเคยไปเมืองไทกิมาสองสามครั้งแล้วแต่มักจะไปบริเวณชายทะเลในช่วงฤดูร้อนเสียมากกว่า และทุกๆ ครั้งที่ไป ฉันมักจะตกตะลึงกับธรรมชาติที่สวยงามอยู่เสมอ

ครั้งนี้แดนี่และฉันวางแผนที่จะค้างคืนในไทกิด้วย เมืองไทกิมีเกสต์เฮ้าส์ประมาณ 20 หลัง และในแต่ละหลัง ผู้มาเยือนสามารถสัมผัสประสบการณ์ต่างๆ ของ "มินปาคุ" ได้
เราตัดสินใจพักในบ้านที่สร้างขึ้นในสมัยเมจิ


เขียนโดยไอซิส อาเคมิ มุโต

ก่อนจะถึงจุดหมายหลักเราแวะที่หมู่บ้านนมโออุจิยามะกันก่อนหากคุณไม่รู้เกี่ยวกับสถานที่นี้คุณควรมาอย่างแน่นอน
เชื่อหรือไม่ว่านี่เป็นครั้งแรกที่เรามาที่นี่ เสียดายจริงๆ ที่เราไม่เคยหยุดแวะเลยแม้จะผ่านหน้าร้านนี้มาแล้วหลายครั้ง ฉันจำได้ว่าเคยเห็นที่นี่คนแน่นมากอยู่เสมอ แล้วมีอะไรพิเศษเกี่ยวกับสถานที่นี้กันล่ะ?

พวกเขามีไอศกรีม(หรือซอฟต์ครีม) วานิลลาที่ยอดเยี่ยมที่สุด! แดนี่ไม่ใช่แฟนของไอศกรีมวานิลลา แต่ถึงอย่างนั้นเขาก็ชอบไอศกรีมนี้มาก

เรามีตัวเลือกมากมาย ดังนั้นฉันจึงเลือกซอฟต์ครีมวานิลลาแบบธรรมดา ส่วนแดนี่สั่งไอศกรีมวานิลลากับรัมลูกเกด 
คุกกี้ คุกกี้ เค้ก และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ล้วนทำจากนมโออุจิยามะซึ่งเป็นนมที่อร่อยและมีชื่อเสียงในจังหวัดมิเอะ
 ห่างจากร้านค้าไปยังโรงงานนมโออุจิยามะเพียง 1 กม.

 ฉันรู้สึกทึ่งกับเนยนี้มาก ได้ยินมาว่ามันอร่อยสุดๆ ดังนั้นต้องมาลองให้ได้ซักวัน

หมู่บ้านนมโออุจิยามะ

Instagram:https://www.instagram.com/mirukumura/
Tel:0598-72-2304

*ที่นี่ไม่มีพนักงานที่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ ดังนั้นบางครั้งพวกเขาจึงไม่สามารถสื่อสารทางโทรศัพท์ได้ดีนัก



เมื่อเราทานซอฟต์ครีมเสร็จแล้วก็ได้เวลาไปเกสต์เฮ้าส์ของเรากัน

พวกเรามาถึงเกสต์เฮ้าส์ที่ชื่อว่าโคมินกะเบปปิน โคมินกะแปลว่าบ้านสไตล์ญี่ปุ่นโบราณ ส่วนเบปปิน ไว้ฉันจะอธิบายความหมายของคำนี้ทีหลังนะ

ขอสารภาพอีกครั้ง ตลอดเกือบ 23 ปีที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นฉันไม่เคยพักในโรงแรมหรือกระท่อมมาก่อนเลย ฉันคิดว่าสาเหตุน่าจะเพราะเวลาไปเที่ยวพวกเรามักจะพักที่บ้านญาติหรือบ้านเพื่อนหรือไม่ก็เที่ยวแบบวันเดียวกลับไม่เคยค้างคืน ดังนั้นค่ำคืนนี้จึงพิเศษมากสำหรับเรา

และนั่นไงล่ะ ป้ายน่ารักๆ ของโคมินกะเบปปินที่ทางเข้าบ้านอายุ 130 ปีซึ่งได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดีจนไม่น่าเชื่อหลังนี้
เราได้รับการต้อนรับจากคุณคาโต้และคุณโยชิดะคุณผู้หญิงที่ดูแลเกสต์เฮ้าส์นี้ พวกเขาใจดีและน่ารักมาก พวกเขาพาเราทัวร์รอบบ้านแบบสั้นๆ ด้วย


ฉันเคยเข้าไปในบ้านเก่าๆสองสามหลังในญี่ปุ่นแต่ไม่เคยมีหลังใดที่มีอายุมากกว่า 100 ปีเลย เราประหลาดใจกับเพดานที่ค่อนข้างต่ำและบันไดเก่าๆ ตอนที่เรามาถึงญี่ปุ่นครั้งแรกเมื่อ 23 ปีที่แล้ว ยังมีบ้านที่มีเพดานต่ำอยู่ แต่โครงสร้างบ้านนั้นได้เปลี่ยนไปแล้ว และคนญี่ปุ่นจำนวนมากก็ตัวสูงขึ้นกว่าในอดีต บ้านแบบใหม่จึงมีเพดานที่สูงขึ้น ดังนั้นการได้เห็นบ้านเตี้ยๆ แบบนี้จึงน่าสนใจ รู้สึกเหมือนได้ย้อนเวลากลับไปจริงๆ

ฉันมีคำถามมากมายเกี่ยวกับบ้านหลังนี้คุณคาโต้และคุณโยชิดะก็ใจดีที่จะตอบคำถามทั้งหมดของฉันด้วย

บ้านหลังนี้เป็นของคุณคาโต้
เธอบอกเราว่าเธอซื้อบ้านหลังนี้เมื่อ 10 ปีก่อนเพราะเธอต้องการสถานที่ที่เธอจะได้มีเวลาพักผ่อนสบายๆ ที่ที่เธอสามารถมาใช้เวลาวันหยุดได้ แต่หลังจากนั้นเธอกับเพื่อนแสนดีของเธอ คุณโยชิดะ พวกเขาก็ตัดสินใจเปิดเป็นโคมินกะกันเมื่อปีที่แล้ว พวกเขาไม่ได้มีแขกมากนักเพราะเพิ่งจะเริ่มต้น แต่พวกเขาก็ตั้งตารอที่จะมีแขกมาพักในบ้านที่น่ารักของพวกเขา ฉันเดาว่าเราคงเป็นคนต่างชาติกลุ่มแรกที่เข้ามาพักในบ้านของพวกเขา

ฉันรู้สึกทึ่งกับโคมไฟนี้ซึ่งเรียกว่า“โชชิน” ในภาษาญี่ปุ่น ฉันจึงถามพวกเขาว่าทำไมถึงเขียนคำว่าอิโนะอุเอะไว้บนนั้น พวกเขาบอกเราว่าอิโนะอุเอะเป็นนามสกุลของเจ้าของบ้านที่สร้างบ้านในสมัยเมจิ

ฉันหยุดชื่นชมและถ่ายรูปบ้านหลังนี้ไม่ได้เลย มันน่าทึ่งมากที่ได้เห็นการตกแต่งภายในที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดีและความสวยงามของการตกแต่งบ้านทั้งหลังโดยคุณผู้หญิงสอง 2 คนนี้

เราไปยังบริเวณรับประทานอาหารซึ่งเป็นจุดที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งของบ้าน มีสามสิ่งที่ดึงดูดความสนใจของเรา คือเพดานที่สูงจนน่าประทับใจคันโยกรูปปลาที่อยู่กลางห้อง และเตาไฟ
และด้วยความอยากรู้อยากเห็นเราจึงได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์สั้นๆ กันพวกเขาบอกเราว่าบริเวณนี้ที่มีเตาไฟที่ลึกลงไปในพื้นแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นอยู่นั้นเรียกว่า "อิโรริ" และคันโยกที่มีรูปร่างเป็นปลาก็เป็นส่วนหนึ่งของ " กุญแจจิไซ" ซึ่งเป็นหม้อที่ประกอบด้วยแท่งเหล็กที่วางอยู่ในกระบอกไม้ไผ่ซึ่งติดอยู่กับเพดาน โต๊ะอิโรริมักจะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่สิ่งที่ทำให้โต๊ะอิโรรินี้แตกต่างจากโต๊ะอื่นคือโต๊ะนี้มีรูอยู่รอบเตาที่ลึกลงไปในพื้น ซึ่งนั่นก็เพื่อให้ผู้คนสามารถนั่งแบบตะวันตกได้ แต่ถ้าพวกเขาต้องการทำให้เป็นสไตล์ญี่ปุ่นดั้งเดิมพวกเขาก็สามารถปิดรูทั้งหมดด้วยชิ้นไม้ที่ทำขึ้นเพื่อการนั้นโดยเฉพาะได้ เจ๋งใช่มั้ยล่ะ?

เรามีช่วงเวลาที่ดีมากที่ได้พูดคุยกับคุณคาโต้และคุณโยชิดะจนเกือบลืมเรื่องอาหารเย็นไปเลย เป็นอีกครั้งที่เราได้ย้อนเวลากลับไปหุงข้าวโดยใช้เตาไฟแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นที่เรียกว่า "คามาโดะ" ขั้นแรก คุณโยชิดะใส่ข้าวลงไปในหม้อ

แดนนี่มีหน้าที่จุดไฟ เมื่อใช้การทำอาหารรูปแบบนี้เราจำเป็นต้องระวังเรื่องไฟต้องปรับไฟบ่อยๆ แล้วแดนี่จะทำได้ยังไงล่ะ? ก็โดยการเป่าลมผ่านกระบอกไม้ไผ่ยาว ๆ และแน่นอนว่าทำพร้อมคำแนะนำจากแม่บ้านผู้ใจดีของเรา
ขณะที่เรากำลังรอข้าวสุก พวกเขาเล่าเรื่องครอบครัวของแขกที่มาพักที่นั่นให้เราฟัง พวกเขามีลูกเล็กๆมาด้วยพวกเด็กๆ ตื่นเต้นมากที่ได้เป่าลมและเอาท่อนไม้แหย่ลงไปในรูเพื่อดูไม้นั้นไหม้ซึ่งก็ทำให้ข้าวไหม้ไปด้วย ฟังดูเป็นเรื่องน่าเศร้าเล็กน้อยแต่ก็เป็นความทรงจำที่สนุกสนานสำหรับพวกเขาด้วย

คุณคาโต้กำลังอธิบายวิธีที่พวกเขาเอาถ่านออกเพื่อไม่ให้ข้าวไหม้และเธอก็ทำท่าทางด้วยมือแบบไม่หยุดเลย คำถามโง่ๆ จึงหลุดออกมาจากปากของฉัน “ด้วยมือของคุณเหรอ???” และพวกเราทุกคนต่างก็หัวเราะออกมา

เมื่อข้าวพร้อมแล้ว แดนี่ก็เอาฟืน (แน่นอนว่าไม่ใช่ด้วยมือของเขา) ที่ยังไหม้อยู่ออกและใส่ลงไปในอีกหลุมหนึ่งซึ่งด้านบนมีหม้อที่เต็มไปด้วยน้ำ ส่วนถ่านก็ใส่เข้าไปในหม้อที่อยู่บนพื้นเพื่อคลายร้อน

สถานที่ท่องเที่ยวที่แนะนำในบทความนี้