การท่องเที่ยวข้ามเวลาที่มีจุดหมายปลายทางในจังหวัดมิเอะ

การท่องเที่ยวข้ามเวลาที่มีจุดหมายปลายทางในจังหวัดมิเอะ

ฉันชื่อไอซิส อาเคมิ มุโต จากเซาเปาโล ประเทศบราซิลฉันอาศัยอยู่ในจังหวัดมิเอะ ประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลากว่า 22 ปีแล้ว แม้ว่าฉันจะอาศัยอยู่ที่มิเอะมานานแล้ว แต่ฉันก็รู้สึกอายที่จะบอกว่าฉันไม่รู้อะไรเกี่ยวกับจังหวัดที่ฉันอาศัยอยู่มากนัก ดังนั้น เมื่อเร็วๆ นี้ ฉันและสามีจึงเริ่มท่องเที่ยวรอบๆมิเอะแบบไปเช้าเย็นกลับกัน
ครั้งนี้เราไปที่ "ไซคุ" ในเมอิวะโจ

ฉันชื่อไอซิส อาเคมิ มุโต จากเซาเปาโล ประเทศบราซิลฉันอาศัยอยู่ในจังหวัดมิเอะ ประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลากว่า 22 ปีแล้ว แม้ว่าฉันจะอาศัยอยู่ที่มิเอะมานานแล้ว แต่ฉันก็รู้สึกอายที่จะบอกว่าฉันไม่รู้อะไรเกี่ยวกับจังหวัดที่ฉันอาศัยอยู่มากนัก ดังนั้น เมื่อเร็วๆ นี้ ฉันและสามีจึงเริ่มท่องเที่ยวรอบๆมิเอะแบบไปเช้าเย็นกลับกัน

ครั้งนี้เราไปที่ "ไซคุ" ในเมอิวะโจ

ฉันชื่อไอซิส อาเคมิ มุโต จากเซาเปาโล ประเทศบราซิลฉันอาศัยอยู่ในจังหวัดมิเอะ ประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลากว่า 22 ปีแล้ว แม้ว่าฉันจะอาศัยอยู่ที่มิเอะมานานแล้ว แต่ฉันก็รู้สึกอายที่จะบอกว่าฉันไม่รู้อะไรเกี่ยวกับจังหวัดที่ฉันอาศัยอยู่มากนัก ดังนั้น เมื่อเร็วๆ นี้ ฉันและสามีจึงเริ่มท่องเที่ยวรอบๆมิเอะแบบไปเช้าเย็นกลับกัน
ครั้งนี้เราไปที่ "ไซคุ" ในเมอิวะโจ

(คำบรรยายภาพ : เราเริ่มเดินผ่านซากปรักหักพังไซคุ)

โปรแกรมวันนี้คือการไปรอบๆไซคุเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และสำรวจบริเวณรอบๆ เราทำการตรวจสุขภาพอย่างรวดเร็วซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระเบียบการเมื่อคุณได้รับโปรแกรมทัวร์ ไกด์ของเราในวันนี้เป็นคุณผู้หญิงที่น่ารัก 2 ท่าน คุณซาวามูระและคุณโอคาโนะ

ไซคุเป็นหนึ่งในสถานที่ที่ดูเหมือนจะถูกสุ่มขึ้นมากระทั่งคุณเริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของที่นี่ หลังจากได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของที่นี่แล้วฉันก็มองที่นี่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ไซคุตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของศาลเจ้าอิเสะ และตั้งแต่ศตวรรษที่ 7 ถึงศตวรรษที่ 14 ที่นี่เคยเป็นที่อยู่อาศัยของไซโอ ไซโอเป็นสมาชิกหญิงที่ยังไม่ได้แต่งงานในครอบครัวราชวงศ์ซึ่งจักรพรรดิส่งมาให้อาศัยอยู่ในไซคุเพื่อรับใช้อามาเตราซุ-โอมิกามิ


(คำบรรยายภาพ : แบบจำลองขนาด 1/10 ของซากปรักหักพังไซคุ)

แบบจำลองขนาด 1:10 แสดงรูปลักษณ์ของไซคุเมื่อ 1,000 ปีก่อน
สถาปัตยกรรมของเมืองโบราณนั้นดูเรียบง่ายแต่ยังคงเต็มไปด้วยรายละเอียดทางประวัติศาสตร์

(คำบรรยายภาพ : ถนนอิเสะโบราณ)

เราเดินสำรวจสถานที่ทางประวัติศาสตร์ต่อไปโดยเดินผ่านเส้นทางเดียวกับที่ไซโอผู้ถูกเลือกและผู้ใต้บังคับบัญชาธอประมาณ 500 คนใช้เดินผ่านเพื่อไปยังไซคุ
จากคำบอกเล่าของไกด์ เมื่อไซโอได้รับเลือกแล้วเธอจะเริ่มเดินทางจากเกียวโตไปยังไซคุ ซึ่งกินเวลา 6 วัน 5 คืน และเธอจะอยู่ในไซคุจนกว่าจะถูกเรียกกลับเกียวโต นอกจากนี้เรายังได้เรียนรู้ด้วยว่าไซโอที่ถูกเลือกมักจะอายุน้อยโดยคนที่อายุน้อยที่สุดมีอายุเพียง 2 ขวบเท่านั้นเอง!

(คำบรรยายภาพ : ทางเดินสู่แม่น้ำฮาราอิและสะพานจิกุ)

เรารู้สึกอัศจรรย์ใจกับพื้นที่สีเขียวโล่งกว้างขณะเดินไปตามทางเดิน

ไกด์ของเราบอกว่าไซโอจะชำระล้างตัวเองในแม่น้ำฮาราอิก่อนที่จะมุ่งหน้าไปที่ไซคุในที่สุด มันสนุกมากที่ได้ใช้เวลาเดินเพื่อสุขภาพในขณะที่คิดเกี่ยวกับ ไซโอ ท่ามกลางอากาศและธรรมชาติอันสวยงาม

(คำบรรยายภาพ : กล่องสมบัติของไซโอ (กล่องอาหารกลางวัน))

สำหรับมื้อกลางวัน เรามีโอกาสได้กินกล่องสมบัติของไซโอ (กล่องอาหารกลางวัน)

เบนโตนี้ได้รับการฟื้นฟูโดยสมาคมการท่องเที่ยวเมืองเมอิวะภายใต้การแนะนำของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ไซคุ เพื่อเตือนให้เรานึกถึงพฤติกรรมการบริโภคอาหารในสมัยนั้น
เชฟที่ทำเบนโตรับรองว่าเราจะต้องเซอร์ไพรส์ถึง 3 ครั้งอย่างแน่นอน เซอร์ไพรส์ครั้งที่ 1 คือเมื่อเรามองที่กล่องอาหารกลางวัน ครั้งที่ 2 คือเมื่อเราเปิดมัน และครั้งที่ 3 คือเมื่อเราชิมมัน และเมื่อเรากิน เราก็รู้สึกว่าเขาพูดถูก


ทุกอย่างอร่อยมาก! โดยเฉพาะบ๊วยญี่ปุ่น "อุเมะโบชิ" บ๊วยญี่ปุ่นมักจะมีสีแดงและรสเปรี้ยวแต่ที่เรากินมีสีอ่อนๆ พอเอาเข้าปากฉันก็เตรียมทำหน้าเปรี้ยวแต่ต้องตกใจเพราะมันมีรสหวาน นี่เป็นครั้งแรกในชีวิตที่ฉันได้กินอุเมะโบชิที่มีรสหวาน มีรสชาติของน้ำผึ้งเล็กน้อย/ มันอร่อยมาก!/ สิ่งที่น่าประหลาดใจอีกอย่างคือข้าวสีดำ “คุโรไม” และสิ่งที่ทำให้พิเศษคือเมล็ดพันธุ์ที่ใช้เตรียมข้าวในวันนี้มาจากศาลเจ้าอิเสะ จริงๆแล้วฉันไม่ใช่แฟนของ "คุโระไม" แต่พอรู้ว่าข้าวนี้ไม่ใช่ข้าวที่เรากินกันทั่วไปและเมล็ดของมันมาจากดินแดนศักดิ์สิทธิ์ฉันกินมันอย่างมีความสุข และมันก็อร่อยมาก จริงๆ แล้วทุกอย่างยอดเยี่ยมที่สุด!


(คำบรรยายภาพ : เวิร์คช็อปที่มิโนริยะคาเฟ่)

หลังจากมื้อกลางวัน เราก็เดินไปที่มิโนริยะ มิโนริยะเป็นคาเฟ่ที่มีเสน่ห์อยู่ตรงข้ามกับทาเคะจินจะ(หรือศาลเจ้าไม้ไผ่) ซึ่งเรามีเวิร์คช็อป "กิคะคุชิ" ครั้งแรกของเรา "กิคะคุชิ" คือกระดาษที่ทำเลียนแบบหนัง เพื่อให้ถึงจุดที่วัสดุมีความแข็งแรงพอที่จะนำไปใช้งานได้ ไม่ซีด ไม่ฉีกขาดและทนทานวัสดุนี้ต้องผ่านกระบวนการที่ยาวนาน และเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการแล้วก็สามารถใช้ทำปกหนังสือกระเป๋าสตางค์สร้อยข้อมือและแม้แต่กระเป๋าก็ได้ วันนี้เราจะทำสร้อยข้อมือของตัวเองกัน

(คำบรรยายภาพ : ไซคุ เฮอัน โนะ โมริ)

กลับไปที่สถานที่ทางประวัติศาสตร์ เราได้เช็คสิ่งก่อสร้างในสมัยเฮอันที่ได้รับการบูรณะ 3 แห่งอย่างรวดเร็ว เราได้เรียนรู้ว่าหลังคาทำจากเปลือกไม้หลายชั้นโครงสร้างนั้นน่าประทับใจจริงๆ

(คำบรรยายภาพ : อิสึคิโนะมิยะฮอลล์สำหรับประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์)

ที่อิสึคิโนะมิยะฮอลล์ คุณสามารถสัมผัสประสบการณ์กิจกรรมต่างๆจากสมัยเฮอันได้ กิจกรรมบางอย่างคุณสามารถทำได้ฟรีแต่บางกิจกรรมต้องจองล่วงหน้าและต้องจ่ายค่าธรรมเนียม

(คำบรรยายภาพ : เกี้ยวที่เรียกว่าโคชิเต็มไปด้วยของตกแต่งที่วิจิตรและระยิบระยับ)

ฉันลองเข้าไปข้างในเกี้ยวชื่อ “โคชิ” ที่ใช้บรรทุกไซโอจากเกียวโตไปยังไซคุ

(คำบรรยายภาพ : คุณสามารถเล่นเกมไคโออิได้)

"ไคโออิ" คือเกมจับคู่เปลือกหอยในสมัยเฮอันซึ่งเหมือนกับการเล่นการ์ดเกม ผู้เล่นต้องหาด้านที่ตรงกับเปลือกที่วางอยู่ตรงกลาง ฉันเล่นเกมนี้ได้ดีอย่างน่าประหลาดใจ

(คำบรรยายภาพ : คุณสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตในสมัยนั้นผ่านนิทรรศการได้)

คุณยังมีโอกาสได้ดมน้ำหอมที่พวกเขาใช้ในการกำจัดหรืออย่างน้อยก็กลบกลิ่นตัวของพวกเขาในตอนนั้นอีกด้วยเพราะพวกเขาไม่มีความเคยชินที่จะอาบน้ำ
นอกจากนี้ คุณยังสามารถชมสิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เสื้อผ้าในสมัยนั้นและอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในกิจกรรมเคมาริได้

สิ่งที่ยอดเยี่ยมอย่างหนึ่งเกี่ยวกับไซคุคือ คุณไม่เพียงแค่ได้รับความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ที่พิพิธภัณฑ์เท่านั้นแต่คุณยังสามารถสัมผัสประสบการณ์บางอย่างที่คุณได้เรียนรู้มาได้ที่หอประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่น่าตื่นตาตื่นใจแห่งนี้อีกด้วย


(คำบรรยายภาพ : ฮานะเทะมิซุ ที่ศาลเจ้าทาเคะ นั้นเป็นที่นิยมในโซเชียลเช่นกัน)

จัดดอกไม้ที่ศาลเจ้าทาเคะจินจะ

ในตอนท้ายของวัน เรากลับไปที่ศาลเจ้าทาเคะจินจะ ศาลเจ้าทุกแห่งจะมี "โจซูฉะ" ซึ่งเป็นอ่างล้างมือที่เราล้างมือก่อนเข้าไปเยือนศาลเจ้าชินโต แต่เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ปัจจุบันอ่างเหล่านี้หลายแห่งได้รับการตกแต่งเหมือนที่ศาลเจ้าทาเคะจินจะ ด้วยการจัดดอกไม้ที่สวยงาม ต้นไม้ ไม้ไผ่ และในวันนั้นก็ถูกเพิ่มเติมด้วยของตกแต่งวันฮาโลวีน

เทศกาลพระจันทร์เต็มดวง

ที่ทาเคะจินจะมีงานที่เรียกว่าเทศกาลพระจันทร์เต็มดวงซึ่งถูกจัดขึ้นทุกเดือน และโชคดีที่วันที่เราไปยังเมืองเมอิวะก็เป็นวันพระจันทร์เต็มดวง เราจึงได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลนี้ด้วย ชาวเมืองท้องถิ่นจะอาสาตกแต่งต้นไผ่ด้วยดอกไม้และทำของตกแต่งอื่นๆ ในตอนกลางคืนจะมีการประดับไฟที่ต้นไผ่เหล่านี้และวางไว้ตามทางเดินไปยังศาลเจ้า

(คำบรรยายภาพ : โกชูอินแห่งศาลเจ้าทาเคะ)
หลายคนที่มาร่วมงานเทศกาลพระจันทร์เต็มดวงก็จะได้รับโกชูอินด้วย โดยพื้นฐานแล้วโกชูอินเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าคุณได้ไปเยี่ยมชมวัดหรือศาลเจ้านั้น ภายในประกอบด้วยออริจินัลแสตมป์ชื่อของศาลเจ้าและเดือนที่คุณไปเยี่ยมชม มีคนที่สะสมมันอยู่เยอะมาก ทุกๆ เดือนภาพวาดก็จะแตกต่างกันไป ฉันคิดว่าฉันจะเริ่มสะสมมันเช่นกัน

สถานที่ท่องเที่ยวที่แนะนำในบทความนี้